💥 เลือกที่ดินแบบง่ายๆ ให้ถูกใจ 💥
เคล็ดลับ..แบบมืออาชีพ

✨เลือกที่ดินไม่ใช่เรื่องยาก หากรู้จักสังเกตและใส่ใจในรายละเอียดสำคัญ มาดูเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเลือกที่ดินได้อย่างมั่นใจ
✨คุณต้องเข้าใจความต้องการของตัวเอง ก่อนจะมองหาที่ดินที่ชอบ ต้องรู้ว่า ตัวเราจะเลือกที่ดินไปทำอะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร หากเราเข้าใจความต้องการของเราอย่างแท้จริงเราจะมีปัจจัยในการเลือกที่ดินที่งายขึ้น สามารถตัดปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น

🙅‍♀️อย่าหลงกับราคาถูก
ที่ดินราคาถูกอาจมีต้นทุนแฝงที่สูง เช่น ต้องถมดินเยอะ น้ำท่วมบ่อย หรือเข้าออกลำบาก ควรพิจารณาต้นทุนทั้งหมดที่ต้องจ่ายจริง ไม่ใช่แค่ราคาที่ดินเพียงอย่างเดียว

🚶‍♀️➡️สำรวจเส้นทาง
ลองขับรถจากที่ดินไปยังจุดสำคัญในชีวิตประจำวัน เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน หรือห้างสรรพสินค้า ดูว่าใช้เวลาเดินทางนานแค่ไหน มีเส้นทางลัดหรือทางเลือกอื่นไหม ถนนกว้างพอหรือเปล่า ที่ดินที่ดีควรเดินทางสะดวก ไม่ติดขัด

🍀ดูความสูงต่ำของพื้นที่
ยืนบนที่ดินแล้วมองดูระดับความสูงเทียบกับถนนและที่ดินข้างเคียง ถ้าที่ดินต่ำกว่าถนนมาก อาจมีปัญหาน้ำท่วมขัง ต้องเสียค่าถมดินเพิ่ม แต่ถ้าสูงกว่ามากเกินไป อาจต้องทำกำแพงกันดินที่มีค่าใช้จ่ายสูง

🍀สังเกตสภาพแวดล้อม
มองดูบ้านเรือนรอบๆ ว่าดูดีมั้ย มีต้นไม้ร่มรื่นไหม อากาศถ่ายเทสะดวกแค่ไหน เสียงรบกวนมีมากน้อยเพียงใด บางครั้งที่ดินราคาถูกอาจมีปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่

👍🏼ตรวจสอบระบบสาธารณูปโภค
มองหาเสาไฟฟ้า ท่อประปา ว่าอยู่ใกล้แค่ไหน การต่อน้ำประปาและไฟฟ้าจะได้ไม่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายมาก บางพื้นที่อาจยังไม่มีสาธารณูปโภคครบ ต้องวางแผนค่าใช้จ่ายเพิ่ม

👉สอบถามคนในละแวก
พูดคุยกับเพื่อนบ้านในละแวกนั้น ถามถึงสภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ คนที่อยู่มาก่อนจะรู้ข้อดีข้อเสียของย่านนั้นดีที่สุด

🙅‍♀️อย่าเชื่อคำโฆษณา
นายหน้ามักพูดแต่ข้อดี ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาในอนาคต ควรตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานราชการให้แน่ชัด

💕แค่ใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้ คุณก็จะได้ที่ดินที่ถูกใจ เหมาะกับการสร้างบ้านหรือลงทุน ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลังว่าเลือกผิด การตัดสินใจง่ายๆ แต่รอบคอบวันนี้ จะส่งผลดีไปอีกนาน

💥อย่าเสียเวลาถ้าคุณยังไม่พร้อม💥
คิดจะซื้อบ้านสักหลัง
ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

บ้านเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่ทุกคนต้องการอยู่อาศัย เป็นที่พักพิง สร้างความอบอุ่น และเพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน
สำหรับคนที่ซื้อด้วยเงินสด ไม่มีปัญหา
#สำหรับคนที่ซื้อใช้เครดิตกู้แบงค์ เรามาดูค่ะ ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง
1. เช็คเครดิตบูโร เพื่อดูว่าเราติดแบล็คลิสหรือเปล่า
❣️ติดแบล็คลิส ประมาณว่า กู้สินเชื่อแล้วไม่ผ่อนคืน หรือผ่อนคืนไม่หมด ต้องเคลียตัวเองให้เรียบร้อยก่อน
2. นำรายได้ - ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เหลือเท่าไหร่ เราจะรู้วงเงินกู้ (เช่นค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบัตรเครดิต โดยประมาณ)
ตัวอย่าง ❣️ รายได้ 30,000 - รายจ่าย 15,000 เท่ากับเหลือเงิน 15,000 บาท มาเทียบว่าแบงค์จะปล่อยเท่าไหร่
❣️เหลือ 10,000 จะได้วงเงินกู้ประมาณ 1 ล้านต้นๆ
❣️เราเหลือ 15,000 จะได้วงเงินกู้ประมาณ 1.5-1.8 ล้าน
(ต้องการรู้ชัวร์ๆ เตรียมสแตดเม้นท์ 12 เดือน สลิปเงินเดือน 6 เดือน ไปเช็คที่แบงค์)
3. เมื่อรู้วงเงินแล้ว ก็หาบ้านให้ได้ตามวงเงินที่กู้ได้ค่ะ
4. กรณีไม่อยากเสียเวลาตระเวณหาบ้าน ให้ติดต่อนายหน้า เขาจะบริการเราทุกขั้นตอน ถึงวันโอน
❣️ #พี่พรอสังหาพารวย และทีมงาน
❣️เราพร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผน ดูแลคุณลูกค้าทุกขั้นตอน จนถึงวันโอน
ติดต่อมาค่ะ : 064-554-1944 ไอดีไลน์ : happylife2515
เลือกบ้านที่ดินคอนโด เพิ่มได้ที่ 👇 www.kesornasset.com

💥 สินเชื่อบ้านล้านหลัง จาก ธอส. 💥
ยังมีอยู่นะค่ะ

สินเชื่อบ้านล้านหลัง จาก ธอส. ยังมีอยู่นะค่ะ
สำหรับคนรายได้ไม่มาก กู้ซื้อ “ที่อยู่อาศัย” ง่ายขึ้น + ผ่อน (ถูกกว่าเช่า)
ช่วง 5 ปีแรก - ยื่นกู้หลังแรก (เช็คบูโร) - วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท
- ยอด 1 ล้านบาท ผ่อน 4,200 บาท และ 6,200 บาท สำหรับยอด 1.5 ล้านบาท (5 ปีแรก)
- ภาพรวม รายได้ 15,000 บาท ก็ยื่นได้แล้ว หากปลอดภาระ นอกนั้นพิจารณาตามเกณฑ์แบงค์ปกติ
เจ้าหน้าที่บอกว่า เฟส 3 เหลือพันกว่าล้านบาท
เท่ากับเหลือไม่เยอะ คาดว่าปีนี้เต็มโควตาแน่นอนค่ะ
(ดอกเบื้ยโปรโมชั่น ไม่รวมแคมเปญ 3.10% - 3 ปีแรก)
#พี่พรอสังหาพารวย 0645541944

💥 รู้มั้ยว่าไม่มีกฎหมายบังคับว่า จะต้องทำ "สัญญาจะซื้อจะขาย" 💥
ไม่ว่าจะซื้อบ้าน ที่ดิน คอนโด
แต่ก็ควรจะทำสัญญาซื้อขาย เพราะอะไร...?

วันนี้พี่พรอสังหาพารวย จะมาเล่าให้ฟังค่ะ
การทำสัญญาจะซื้อจะขาย จะเป็นการแสดงเจตนาของผู้จะซื้อว่า
ต้องการจะซื้อบ้าน | ที่ดิน | คอนโด ของผู้จะขาย และวางเงินมัดจำไว้เป็นประกัน
ว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน และจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในส่วนของผู้จะขายนั้น ก็จะไม่ขาย บ้าน | ที่ดิน | คอนโด ให้คนอื่นในช่วงเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่นกัน
แต่ถ้าฝ่ายผู้จะซื้อผิดสัญญา ผู้จะขายก็สามารถริบเงินมัดจำได้ (เพราะเสียโอกาสที่จะขายให้คนอื่น และเสียเวลารอ)
ในทางกลับกันถ้า ผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะซื้อก็สามารถเรียกเงินมัดจำคืน และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
ก่อนที่จะเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องอ่านข้อมูลรายละเอียดให้ถูกต้อง เคลียเงื่อนไขต่างๆให้เข้าใจตรงกัน ก่อนลงลายมือชื่อทุกครั้ง

ต้องดูอะไรในสัญญาจะซื้อจะขาย
ข้อมูลของบ้าน | ที่ดิน | คอนโด เลขที่โฉนด เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ขนาดเนื้อที่ที่ดิน เลขที่บ้าน เลขที่ห้องคอนโด
และราคาจะซื้อจะขาย ตามที่ตกลงกันไว้ อย่าลืม ลงรายละเอียดเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องได้รับด้วยนะคะ
เรื่องสำคัญ ที่หลายๆคนมองข้าม!!
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ในการโอน เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ อากรแสตมป์ หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีรายได้ของผู้ขาย
เพราะหลายๆเคส สรุปราคาตกลงซื้อขายเรียบร้อยแล้ว พอวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ไม่คุยเรื่องนี้ให้ชัดเจน
กลายเป็นว่า ไปทะเลาะกันที่สำนักงานที่ดิน ก็มีให้เห็นบ่อยนะคะ
วันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ถ้าไม่มีวันนัดโอนในสัญญาจะถือว่าสัญญาจะซื้อจะขาย ถือเป็นโมฆะ ต้องระบุไว้ โดยประมาณ 60 วัน
ทำไมต้อง 60 วัน เผื่อคนขายไปแจ้งไถ่ถอน กับทางธนาคารที่จำนองอยู่ (ถ้าติดจำนองอยู่) ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์
เผื่อคนซื้อทำเรื่องขอสินเชื่อ กับทางธนาคาร (ส่วนมากก็ขอสินเชื่อ เพราะซื้อบ้านเป็นเงินก้อนใหญ่ คนก็มักจะขอสินเชื่อมาซื้อกันค่ะ)
ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 สัปดาห์เช่นกันค่ะ เผื่อๆ ติดปัญหาอะไร ให้ระบุประมาณ 60 วันกำลังดีค่ะ
(แต่ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย ดำเนินการเสร็จก่อนวันที่ระบุไว้ในสัญญา ก็นัดกันไปโอนกรรมสิทธิ์ก่อนได้นะ)
เบี้ยปรับถ้าเกิดผิดสัญญาจะซื้อจะขาย เช่น การระบุอัตราเบี้ยปรับ ความล่าช้าในการส่งมอบบ้าน รวมถึงการขอยกเลิกสัญญาถ้าผิดสัญญา
นอกจากอ่านสัญญาอย่างละเอียดแล้ว ก่อนเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านซักหลัง ที่ดินซักแปลง คอนโดซักห้อง
จะต้องตรวจความเรียบร้อยก่อนการโอน หรือกำหนดวันโอนให้เรียบร้อยก่อนด้วยนะคะ
ให้เรื่องอสังหา เป็นเรื่องง่ายๆ กับ #พี่พรอสังหาพารวย 0645541944

💥 บ้านหลังนี้ราคาประเมินเท่าไหร่ ประเมินอะไรบ้าง เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ 💥
เอาความสบายใจของผู้ขาย เอาความอยากได้ของผู้ซื้อ หรือมีใครเป็นผู้กำหนด
ได้ราคาประเมินมาแล้วเอาไปทำอะไร???
เชื่อว่า เป็นคำถามที่มีอยู่ในใจของหลายๆ คน

วันนี้พี่พรมีคำตอบมาฝากทุกคนนะคะ
ในการซื้อขายบ้านหรือที่ดิน ราคาประเมินจะมี 3 ราคา นะจ๊ะ
อันดับแรกเป็นราคาประเมินที่ดินของราชการ (หรือเรียกว่าราคาประเมินกรมธนารักษ์ นั่นแหละ) ต่อมาก็คือ ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน เช่น ธนาคาร บริษัทต่างๆ และสุดท้ายก็คือ ราคาตลาด
มาดูตัวอย่างกันค่ะ ราคาประเมินที่ดินของภาคราชการ ก็คือ ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินนั่นเองจ้า ซึ่งกรมที่ดินจะกำหนดราคาประเมินที่ดิน และราคาประเมินที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างด้วยนะ

1. ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน (ราคาประเมินกรมธนารักษ์) กรมที่ดินเค้าอัพโหลดข้อมูลเกี่ยวกับราคาที่ดินทั่วประเทศ ไปดูที่นี่ได้นะ http://www.property.treasury.go.th/pvmwebsite/index.asp จะได้กำหนดราคาได้เหมาะสม ถ้าอยากจะซื้อจะขายกัน ก็แค่เตรียมเลขโฉนด เลขที่ดิน เพื่อเข้าไปค้นหาราคาในเว็ปได้เลย แต่ถ้าต้องการการราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบละเอียดและชัดเจนขึ้น ก็ต้องติดต่อกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินที่ตั้งอยู่ ธนารักษ์พื้นที่จังหวัดนั้นๆ นะคะ
2. ราคาประเมินที่ดินของธนาคาร ราคาประเมินที่ดินของธนาคารหรือเอกชนเป็นการประเมินราคาจากผู้เชี่ยวชาญด้านราคาที่ดินของบริษัทเอกชน ซึ่งมีทั้งบริษัทประเมินราคาที่ดิน บริษัทที่ปรึกษาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินต่างๆ (ก็ธนาคารนั่นแหละ) ที่มีหน่วยงานประเมินราคาที่ดิน เค้าก็จะอ้างอิงทั้งจากราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน กับอ้างอิงจากราคาตลาด แล้วกำหนดเป็นราคากลางของตัวเอง ซึ่งแต่ละบริษัทแต่ละสถาบัน จะมีเกณฑ์ในการกำหนดราคากลางในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ราคากลางในพื้นที่เดียวกันแต่ต่างบริษัทกัน ก็แตกต่างกัน (แต่ก็แตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่หรอก)
3. ราคาตลาด เป็นราคาที่มีการซื้อขายกันจริงๆ ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งมีทั้งราคาจากฝั่งผู้ขายกับฝั่งผู้ซื้อ คนกำหนดราคาตลาด ก็คือผู้ซื้อกับผู้ขายนั่นแหละ
บางพื้นที่ ราคาตลาด กับ ราคาประเมินที่ดินของเอกชนจะใกล้เคียงกัน หรือเป็นราคาเดียวกันก็มีนะ แต่บางพื้นที่ราคาตลาดก็สูงกว่า หรือต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินของเอกชน

เราต้องเชื่อราคาไหนละทีนี้ ???
ราคาประเมินที่ดินทั้ง 3 ราคานั้น ราคาประเมินที่ดินของเอกชน และราคาตลาดส่วนใหญ่ จะสูงกว่าราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน ประมาณ 20-40% แล้วแต่พื้นที่ หรือแล้วแต่จังหวะเวลาในช่วงนั้นๆ ขึ้นกับกระแสข่าวว่าจะมีรถไฟฟ้า ทางด่วน ถนนตัดใหม่ เมืองใหม่ ราคาประเมินที่ดินก็ปรับตัวสูงขึ้นแรงกว่าปกติ
การซื้อขายจริง ผู้ซื้อกับผู้ขาย ก็มักจะอิงไปทาง “ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน” กับ “ราคาตลาด” เป็นหลักนั่นแหละ
แล้วราคาประเมินที่ดินแบบไหนมีผลกับค่าโอน ???
ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ 2% จะดูจากราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน สุดท้ายแล้ว การซื้อขายก็เกิดจากความพอใจของผู้ขายในการตั้งราคา และผู้ซื้อยอมรับได้ ส่วนราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน กับราคาประเมินธนาคาร หรือราคาตลาด ก็จะเอาไว้เทียบให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ได้ตัดสินใจว่าควรจะซื้อขายในราคาไหนมากกว่า
การจะซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์ รู้เรื่อง “ราคาประเมินที่ดิน” ไว้ ก็จะทำให้ตัดสินใจได้ถูกว่าราคาที่เราเห็นว่าเหมาะสมมั้ย ถ้าข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ แชร์เก็บไว้ได้เลยนะคะ